ดนตรีมีเรื่อง
เรื่องราวที่น่าสนใจของเพลงคลาสสิก
โดย บัณฑิต อึ้งรังษี
I FEEL GOOD
Vivaldi: Four Seasons, Spring, Mvt. I
แน่นอนว่า เพลงนี้เป็นเพลงที่เป็นนิยมมากที่สุดเพลงหนึ่งในโลกดนตรี ขายได้กว่า 20 ล้านแผ่น และมีซีดีกว่า 300 เวอร์ชั่นอยู่ในตลาดทั่วโลก! ไปอยู่เมืองนอกถึงได้ทราบว่า ในวัฒนธรรมฝรั่ง ฤดูใบไม้ผลิหมายถึงความยินดีปรีดา สดใสร่าเริง เพราะความหนาวทุกข์ระทมของฤดูหนาวได้จบสิ้นแล้ว ดอกไม้ใบไม้ก็เริ่ม"spring" ออกมา โลกเริ่มสวยงามขึ้น
ผู้แต่งเพลง แน่นอนก็ต้องพยายามสื่อความรู้สึกนี้ออกมาในดนตรี อารมณ์ของเพลงนี้จึงมีความสดใส กระฉับกระเฉง ตื่นเต้นกับชีวิต มองโลกในแง่ดี
สิ่งหนึ่งที่ผู้ฟังทั่วไปอาจไม่ทราบ ฟังผิวเผินอาจจับไม่ทัน คือ การใช้ดนตรีสร้างภาพต่างๆของฤดูใบไม้ผลิที่วิวาลดีถึงขนาดเขียนลงไปบนโน้ตเพลงให้ผู้เล่นเข้าใจและปรับการเล่นให้เลียนเสียงใกล้เคียงที่สุด นั่นคือ
- นกสามตัวร้องหยอกล้อกัน เล่นโดยไวโอลินเดี่ยวสามตัว (0:32 – 1:06)
- สายน้ำไหลเบาๆ เล่นโดยกลุ่มไวโอลิน (1:15 – 1: 39)
- ฟ้าร้อง (1:48) และฟ้าผ่า (1:50)
- นกกลับมาร้องอีกที (2:24)
นี่เป็นเพียงเปิดฤดูแรกของงานชิ้นเอกของวิวาลดี้ชิ้นนี้ ยังมีอีกสามฤดูที่มีเสียงเครื่องดนตรีเลียนแบบอะไรแปลกๆ เช่น สุนัขเห่า ฟันคนกระทบกันเพราะความหนาว(ฤดูหนาว)
คนเต้นรำด้วยความดีใจ(ฤดูใบไม้ร่วง--เก็บเกี่ยว) คนเมาแอ๋จนหลับ ฯลฯ น่าสนใจและไพเราะมาก
คนเต้นรำด้วยความดีใจ(ฤดูใบไม้ร่วง--เก็บเกี่ยว) คนเมาแอ๋จนหลับ ฯลฯ น่าสนใจและไพเราะมาก
Handel: Arrival of the Queen of Sheba
เพลงโปรดของผมตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก กระชุ่มกระชวยดี เสียงดนตรีมีมนต์ขลังไม่เบา ตอนเด็กๆฟังชื่อแล้วน่าสนใจมาก “การเสด็จมาถึงของราชินีแห่งชีบ้า” อื้อหือ ชื่อชวนให้ติดตาม แต่สมัยก่อนเมืองไทยไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมมากไปกว่านี้ อินเตอร์เน็ตก็ไม่มี ก็เลยจบแค่นั้น
เพลงนี้เป็นเพลงมาตรฐานในงานแต่งงานของฝรั่ง เล่นตอนเจ้าสาวเข้ามาหาเจ้าบ่าว (เหมือน “ราชินีมาถึง” ไงครับ) เป็นเพลงฮิตอีกเพลงหนึ่งของเฮนเดล โดยเรื่องราวของราชินีแห่งชีบ้ามาจากคัมภีร์ไบเบิล ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องราวของกษัตริย์โซโลมอน
เสียงปี่โอโบ (0:32) เป็นเครื่องดนตรีที่ผมชอบฟังเสียงมากที่สุด มันมีเสน่ห์แบบตรึงใจ ตอนเป็นวัยรุ่นผมหลงไหลเสียงเครื่องดนตรีชิ้นนี้มาก จนอยากเล่นเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เมืองไทยไม่เคยเห็นคนเล่น (ตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยมีคนเล่น เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก) ในเพลงนี้เราได้ยินเสียงปี่สองตัวเล่นคู่กัน ตอบรับด้วยวงออร์เคสตร้าทั้งวง สลับไปมาตลอดเพลง
Ponchielli: Dance of the Hours, Part 2
ปี่โอโบ
Ponchielli: Dance of the Hours, Part 2
เพลงนี้ดังมาจากหนังการ์ตูนเรื่อง แฟนเทเซีย (Fantasia ปี ค.ศ. 1940) เป็นการ์ตูนที่สร้างกระแสความนิยมเพลงคลาสสิกขึ้นมาอย่างมากในอเมริกา โดยเพลงนี้เป็นหนึ่งในแปดเพลงที่อยู่ในหนังเรื่องนั้น ใช้ประกอบเพลงที่มีตัวฮิปโปเต้นระบำ ทั้งมีจระเข้ ช้าง และนกกระจอกเทศมาเต้นเป็นเพื่อน เรียกเสียงหัวเราะให้เด็กๆ (และผู้ใหญ่) เป็นอย่างมาก
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าอยู่ในระดับ “คลาสสิก” เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมที่สุดตลอดกาล
อ้อ ชื่อคนแต่งเพลงอ่านว่า พอนคิเอลลี่ ครับ ชาวอิตาเลียน
Bach: Bandenburg Concerto No. 1, Mvt. I
ไม่รู้เป็นอะไร ผมฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกสบายใจทุกครั้ง ชื่อ บรันเด็นเบิร์ก เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในเยอรมนี บาคได้อุทิศผลงานชิ้นสำคัญนี้ให้กับผู้ครองแคว้นนั้น ประวัตินอกเหนือจากนี้ไม่ได้มีความสำคัญหรือน่าสนใจมาก แต่ที่สำคัญ “ดื่มด่ำไปกับเสียงดนตรี” นะครับ
Bach บาค
Lullaby
เป็นตัวอย่างภาพวาดในยุค Impression ที่มีชื่อเสียง
Debussy: The Girl with the Flaxen Hair
Mendelssohn: A Midsummer Night's Dream (Nocturne)
Tchaikovsky: Sugar Plum Fairy from The Nutcracker
[7] อ่านว่า “วินเชโร่” ภาษาอิตาเลียน
Mozart: Piano Concerto No. 24, Mvt. II
ไพเราะ จริงๆ เพลงนี้ ทำนองได้ถูกนำไปใช้ในหนังโฆษณาแม้ในเมืองไทย สังเกตว่า ทำนองที่เพราะๆอันนี้จะถูกคั่นอยู่เรื่อยๆ ด้วยทำนองอื่นที่บุคลิกแตกต่างกัน (1:11 และ 2:37) เพราะอะไร? เป็นเทคนิคของนักแต่งเพลงที่จะทำให้ทำนองไม่ถูกใช้เล่นซ้ำไปซ้ำมาจน “เฝือ” แต่เมื่อทำนองหลักกลับมา (2:02 และ 3:25) มันมีความ “หอมหวาน” เพิ่มขึ้น
Lullaby
Debussy: Prélude à L'après-midi d'un faune
เพลงนี้สำหรับหูคนไทยทั่วไปอาจฟังแล้ว“เอ๋อ”หน่อย (มันเพราะยังไงนะ ไม่เห็นมีทำนองอะไรที่จำได้เลย) ผมเองแสดงเพลงนี้มานับครั้งไม่ถ้วน ดูคนอื่นแสดงด้วย ฟังซีดีต่างหากเป็นร้อยๆรอบก็ยังไม่คิดว่าตนซาบซึ้ง 100%
ต้องเข้าใจว่า มันเป็นสไตล์ที่ฉีกแนวออกไปเลย ถือว่าเป็นเพลงระดับ Masterpieceของศตวรรษที่ยี่สิบ ก่อนหน้านั้นไม่มีใครเคยได้ยินอะไรแบบนี้มาก่อน เป็นเพลง “สร้างภาพ” ให้คุณเห็นในจินตนาการมากกว่า ภาษาเทคนิคเรียกว่า Impressionism เป็นสไตล์ดนตรีและศิลปะที่เด่นในฝรั่งเศสสมัยต้นศตวรรษที่ 20 อธิบายง่ายๆคือ ศิลปินหรือนักดนตรีจะสื่อให้คุณได้รับแค่ “กลิ่นอาย” ความประทับใจ หรือ Impression เท่านั้น ไม่ได้มีทำนองที่ติดหูหรือไม่มีการวาดเป็นลายเส้นชัดเจน ถ้าเป็นภาพวาดก็จะเบลอๆ
ภาพ The Woman with a Parasol ของ Monet เป็นตัวอย่างภาพวาดในยุค Impression ที่มีชื่อเสียง
เพลงนี้เป็นเพลงที่ “เขย่าโลก” ของดนตรีตะวันตกเลยทีเดียว นักดนตรีคลาสสิกทุกคนต้องศึกษาเพลงนี้ หรืออย่างน้อยต้องเคยได้ยิน มันได้รับการพูดถึงบ่อยครั้งมาก ตั้งแต่มีเพลงนี้ผุดขึ้นมาในโลก โลกดนตรีตะวันตกไม่เหมือนเดิมแล้ว ก่อนหน้าเพลงนี้ ไม่มีใคร “กล้า” ที่จะเริ่มต้นเพลงด้วยฟลู้ทตัวเดียวเป็นเวลาเกือบครึ่งนาที แล้วก็เล่นแบบ “ฝันๆ” ไม่มีจังหวะที่แน่นอน คนฟังหาจังหวะไม่เจอ
ชื่อเพลงเต็มๆ แปลว่า “ยามบ่ายของเจ้าฟอน”[1]ดนตรีก็สร้างภาพให้เห็นตอนฟอนเพิ่งตื่น บิดขี้เกียจ
ชื่อเพลงเต็มๆ แปลว่า “ยามบ่ายของเจ้าฟอน”[1]ดนตรีก็สร้างภาพให้เห็นตอนฟอนเพิ่งตื่น บิดขี้เกียจ
ฟอน หรือกริฟฟอน (Griffon)
[1] กริฟฟิน (Griffin, Griffons, Gryphon ets.) เป็นสัตว์ที่อยู่ในเทพนิยาย มีส่วนหัว ขาคู่หน้า ปีกเป็นอินทรี ส่วนลำตัว ขาคู่หลังเป็นสิงโต และมีหางเป็นงู
ขอเสริมอีกหน่อยว่า เดบุซซีได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีของทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือ วงประเภทที่เรียกว่า “กาเมลาน” จากชวาของอินโดนีเซีย (Javanese Gamelan) เขาไม่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปเที่ยวที่นั่นหรอกครับ เพียงแต่เขาเห็นวงนี้จากงาน PARIS EXPO แล้วประทับใจในเสียงแปลกๆ
เครื่องดนตรีในวงกาเมลาน (Gamelan)
ท่านจะได้ยินเสียงดนตรีเอเชียในเพลงนี้อย่างชัดเจนจาก 2:33 จนจบเพลง ที่ชัดเจน ลองฟังที่ 2:33, 2:44 (เสียงฉิ่ง) และ 2:53 เสียงแบบนี้ก็มีในวงดนตรีไทยด้วยครับ
ต้องขอแถมว่า ในมุมมองของคอนดักเตอร์ พูดถึงทางเทคนิคเป็นเพลงที่ควบคุมยากที่สุดเพลงหนึ่ง คอนดักเตอร์ต้องได้รับการเทรนที่ดีและถูกต้อง และมีพรสวรรค์พอสมควร เพราะถ้าเขาพลาดไปแค่เสี้ยววินาทีเดียว วงมีโอกาสล่มได้!
เดบุซซี่ถือเป็นนักแต่งเพลงคนสำคัญที่สุดของฝรั่งเศส
และเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของชาติ รูปของเขาอยู่บนธนบัตรฝรั่งเศส
และเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของชาติ รูปของเขาอยู่บนธนบัตรฝรั่งเศส
Beethoven: Piano Sonata No. 14 (Moonlight)
เพลงที่กินใจและมีชื่อเสียงที่สุดเพลงหนึ่งของเบโธเฟ่น จริงๆแล้ว ผมว่าเขาเป็นคนที่โรแมนติกมากคนหนึ่ง แม้จะห่ามๆไปบ้าง เก้งก้างเข้ากับสังคมชั้นสูงที่เขาทำงานอยู่ไม่ค่อยได้ เบโธเฟ่นไม่เคยมีภรรยา พยายามจีบลูกศิษย์สาวอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะในสมัยนั้นมีการถือชนชั้นวรรณะพอสมควร เบโธเฟ่นเป็นคน “บ้านนอก” ไม่มีชาติตระกูล แต่สาวๆลูกศิษย์เขาส่วนใหญ่เป็นลูกเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย ถึงแม้นานๆครั้ง สาวบางคนจะมีใจให้เขาบ้าง แต่เรื่องแต่งงานนั้น ลืมไปได้เลย สาวเหล่านั้นต้องไปแต่งงานกับคุณชายที่มีเชื้อสายชนชั้นสูง ทำให้นักแต่งเพลงเอกของโลกคนนี้
Beethoven เบโธเฟน
Debussy: The Girl with the Flaxen Hair
ชื่อแปลตรงตัวก็คือ สาวผมถัก เป็นเพลงเดี่ยวเปียโนที่มีชื่อเสียงที่สุดเพลงหนึ่งของเดบุซซี่อีกเพลงหนึ่งในสไตล์ Impressionism
สมมติว่าคุณเป็นคนชั้นเจ้าขุนมูลนายของฝรั่งในสมัยก่อนแล้วเป็นโรคนอนไม่หลับ คุณจะทำอย่างไร ยานอนหลับที่ใช้ได้ผลจริงๆ อาจจะยังไม่มี
ทางออกของท่านเค้าน์ Kaiserling คือการจ้างนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนั้นชื่อ บาค ให้แต่งเพลงช่วยให้เขาผ่อนคลายตอนกลางคืน และในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องเล่นซีดี
แน่นอนต้องใช้นักดนตรีจริงๆเล่น คนที่ต้องไปเล่นให้ท่านเค้าน์ฟังทุกคืนคือ นายโกลด์เบิร์ก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเพลง
แน่นอนต้องใช้นักดนตรีจริงๆเล่น คนที่ต้องไปเล่นให้ท่านเค้าน์ฟังทุกคืนคือ นายโกลด์เบิร์ก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเพลง
คำว่า Variations เป็นเทคนิคการแต่งเพลงอย่างหนึ่ง โดยเป็นการย้อนของกลับมาของชุดทำนองหลักแต่มีการการผันแปรทำนองเหล่านั้นนั้นออกไป โดยอาจจะผันแปรในส่วนของเสียงประสาน ทำนอง หรือจังหวะ ก็ได้ โดยมีรูปแบบที่นิยมใช้ เช่น Chaconne, Passacaglia และ Theme and Variation เป็นต้น
ถ้าท่านชอบเพลงนี้ ยังมีตอนต่ออีก 30 เพลงสั้นๆ แต่ละเพลงมีบุคลิกภาพต่างกันไป ก้าวร้าวบ้าง ฮึกเหิมบ้าง เร็วบ้าง เศร้าบ้าง แต่มีรากมาจากเพลงต้นฉบับเหมือนกันหมด เพลงทั้ง 30 มีความไพเราะมาก ผมแนะนำให้ลองฟังนักเปียโนที่ชื่อ Glenn Gould เล่น เป็นสุดยอดของการเล่น Goldberg Variations แล้ว ฟังกี่รอบ ก็ยังซึ้งและได้ค้นพบอะไรใหม่ๆเสมอ
Mendelssohn: A Midsummer Night's Dream (Nocturne)
คำว่า นอคเทิร์น ส่วนใหญ่ใช้กับเพลงที่พูดถึง“ยามค่ำคืน” อารมณ์เพลงก็จะออกมาแนวเบาๆ สะท้อนความวิเวกวังเวงของยามวิกาล
Nocturne ของเมนเดลโซนนี้ เป็นเพลงที่มีชื่อเสียงเพลงหนึ่ง เป็นที่นิยมแสดงในต่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของงานใหญ่หลายท่อนชื่อว่า
A Midsummer Night’s Dream ซึ่งเป็นเพลงประกอบละครของเชคสเปียร์ในชื่อเดียวกัน
A Midsummer Night’s Dream ซึ่งเป็นเพลงประกอบละครของเชคสเปียร์ในชื่อเดียวกัน
เวอร์ชั่นในอัลบั้ม Lullaby นี้ เป็นเพลงที่ผมแสดงสดกับวงในอเมริกา
Tchaikovsky: Sugar Plum Fairy from The Nutcracker
เสียงเครื่องดนตรีที่เล่นทำนองเอกในเพลงนี้ เรียกว่า ซีเลสต์ (Celesta แต่อย่าอ่าน ซีเลสต้า นะครับ เดี๋ยวฝรั่งไม่รู้เรื่อง) ไชคอฟสกี้ ผู้ที่ทั่วโลกยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์แห่งการเรียบเรียงเสียงประสานให้วงออร์เคสตร้า (orchestration) ได้เลือกเครื่องดนตรีชิ้นนี้อย่างเหมาะสม มันสื่อถึง Fairy (นางฟ้า) บรรยากาศเหมือนเราไม่ได้อยู่ในโลกนี้ แต่อยู่ในโลกของเทพนิยาย
เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงเอกจากบัลเล่ต์สุดฮิต The Nutcracker ซึ่งเป็นเรื่องราวการผจญภัยของตุ๊กตาในร้านขายของเล่น โดยมีตัวเอกเป็นเจ้าตุ๊กตาที่บีบเปลือกถั่วรูปทหารนั่นเอง
Focus
Bach: Air on the G-String
โอเค ก่อนอื่น คำว่า G String ไม่ได้เป็นชื่อของชุดชั้นในชนิดหนึ่งนะครับ สมัยบาคคำว่า G String มีความหมายเดียว คือ สายเสียงต่ำที่สุดของไวโอลิน ซึ่งหมายความว่า ให้เล่นเพลงนี้บนสายนี้เพียงสายเดียว (ยากกว่า แต่ไพเราะกว่า) แทนที่จะเล่นบนทั้งสี่สาย
ชื่อเต็มของเพลงนี้คือ Air from the Ouverture No. 3 in D major, BWV 1068 เป็นเพลงที่ไพเราะที่สุดเพลงหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรี และเป็นที่นิยมทั่วโลกมาเกือบ 300 ปี นอกเหนือจากนี้ คงไม่ต้องพูดมาก Just enjoy the music ครับ[2]
Pachelbel: Canon
เพลงที่ป๊อปปูล่าที่สุดเพลงหนึ่งในโลกดนตรีคลาสสิก ทำนองได้ถูกนำไปใช้ในดนตรีป๊อป ร้อค และประเภทอื่นอีกมากมาย รวมทั้งในภาพยนตร์ ทีวี หนังโฆษณาหลายชิ้น[3] ในอเมริกาก็ได้ยินประจำในงานแต่งงาน นักดนตรีเล่นเครื่องสายอาชีพในอเมริกาเล่นเพลงนี้จากความจำได้หมด เพราะทุกครั้งที่ถูกจ้างไปเล่นในงานแต่งงานก็ต้องเล่นเพลงนี้
รู้ไหมครับ ทำไมเพลงถึงชื่อ CANON ไม่ใช่ปืนใหญ่ (CANNON) นะครับ แต่คำว่า แคนนอน เป็นชื่อของเทคนิคการแต่งเพลงอย่างหนึ่งซึ่งเรียบง่ายแต่น่าทึ่ง สมมติมีคนเล่นสามคน ทุกคนจะเล่นโน้ตแนวเดียวกันหมด แต่มีข้อแม้ว่า ต้องเข้ามาไม่พร้อมกัน
ยกตัวอย่าง...
- 0:00 เบสเริ่มก่อน เสียงเบสยังไม่นับเป็นแนวแรก สังเกตว่า เบสเล่นทำนองซ้ำไปซ้ำมาทั้งเพลง -ตรง 0:15 ก็เริ่มใหม่ – อีกทีที่ 0:30 – อีกที่ 0:45 และต่อไปทุกๆ 15 วินาทีจนจบเพลง (*อาจมีคลาดเคลื่อนไปสักวิสองวิ เพราะเล่นด้วย “มนุษย์” ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ครับ) อือ ใครเล่นเบสนี่สบายเลย
- 0:15 ไวโอลิน #1 เข้ามา เล่นทำนองหลัก
เบสก็ยังคงเล่นต่อไป
- 0:30 ไวโอลิน #2 เข้ามา เล่นทำนองหลัก (ในขณะที่ ไวโอลิน #1 และเบสก็ยังเล่นอยู่)
- 0:45 ไวโอลิน #3 เข้ามา เล่นทำนองหลัก (ในขณะที่ ไวโอลิน #1, 2 & เบส ก็ยังประสานกันอย่างไพเราะ)
...สังเกตเอง เข้าใจระบบแล้ว นายพาเคลเบลของเราเริ่มออก “ลวดลาย” มากขึ้น แต่นี่เป็นเหตุผลว่า ฟังเพลงคลาสสิกยิ่งหลายรอบยิ่งเพราะ เพราะมีอะไรใหม่ๆ ให้พบเสมอ อย่าลืม enjoy the music นะครับ นั่นสำคัญที่สุด ไม่จำเป็นต้อง “คิดมาก” หลายคนคิดว่า ต้องมีความรู้ถึงจะชอบดนตรีคลาสสิกได้ ผมคิดว่าความรู้เป็น “ส่วนเสริม” แต่ถ้าดนตรีไม่ “กินใจ”คนในระดับอารมณ์ตั้งแต่แรกฟังแล้ว ความรู้เพิ่มขึ้นก็ไม่ช่วย
แนะนำให้เอนหลังสบายๆฟัง หาเครื่องเสียงดีๆถ้าเป็นไปได้ หรือใส่หูฟังอย่าให้ใครกวน คุณจะเหมือนอยู่อีกโลกหนึ่ง “โลกของเสียง”
- เพลงนี้มีเว็บไซท์เป็นของตนเองชื่อ www.Pachelbelcanon.com ใครสนใจไปหาข้อมูลเพิ่มเติมที่นั่นได้ ใครอยากได้โน้ตเพลงฟรีไม่ว่าจะเวอร์ชั่นสำหรับเครื่องดนตรีไหนก็มีฟรีในอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะที่ International Music Score Library Project
- ใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นภาษาไทย ไปที่ http://th.wikipedia.org/wiki/แคนอนของพาเคลเบล แต่ลิงค์wiki ภาษาอังกฤษมีข้อมูลมากกว่า
[2] ใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม http://th.wikipedia.org/wiki/Air_on_the_G_String
[3] ที่ดังๆในเมืองไทยก็มีโฆษณา Panteen ที่หลายคนชอบ หาดูได้ใน youtube หาโดยใช้คำ “extraordinary pantene commercial”)
Bach: Sleepers Awake
แปล ตรงตัวว่า “ผู้หลับอยู่ จงตื่นได้แล้ว” เป็นเพลงศาสนาที่บาคมีหน้าที่แต่งเป็นประจำในหน้าที่ของเขา เพลงนี้เป็นเพลงที่เป็นที่นิยมที่สุดเพลงหนึ่งของเขา
ช่วงกลางมีนักร้องเสียงประสานเข้ามา แต่ทำนองหลักจริงๆ ก็ยังอยู่ที่วงออร์เคสตร้า บางครั้งเพลงนี้ได้ถูกดัดแปลงไปให้กีต้าร์คลาสสิกหรือเปียโนเล่น โดยไม่มีเสียงคนร้องก็ยังไพเราะอยู่
Bach: Sheep May Safely Graze
แปลตรงตัวว่า “ลูกแกะสามารถที่จะเล็มหญ้าได้อย่างปลอดภัย” บางคนงง มาได้ยังไงชื่อนี้ แต่คนที่เป็นคริสต์จะรู้ทันทีว่า ลูกแกะก็หมายถึง “มนุษย์” ผู้ซึ่งได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากพระเจ้า
บาคเป็นนักแต่งเพลงที่มีความใกล้ชิดกับศาสนามาก แทบทุกเพลงที่เขาแต่งเขาจะลงท้ายไว้ในโน้ตเพลงว่า Soli Deo Gloria = To the Glory of God Alone = แด่บารมีของพระเจ้าเท่านั้น
สังเกตเสียงฟลู้ทที่เด่นมากในเพลงนี้ ฟลู้ทเป็นเครื่องดนตรีที่นักแต่งเพลงใช้เพื่อสื่ออารมณ์สายลมบนทุ่งหญ้าเขียวขจี
อีกตัวอย่างหนึ่งของเพลงที่ใช้ฟลู้ทในอารมณ์ของทุ่งหญ้า คือ Pastoral Symphony หรือ ซิมโฟนีหมายเลข 6 ของเบโธเฟ่น
Handel: Sarabande
คำว่า Sarabande หมายถึงชนิดของเพลงเต้นรำแบบโบราณแบบหนึ่ง ซึ่ง Sarabande ของ Handel บทนี้เป็นเพลงที่มีมนต์ขลังเพลงหนึ่ง ใช้เครื่องดนตรีโบราณที่เป็นต้นตระกูลของเปียโนที่เรียกว่า ฮาร์พสิคอร์ด (Harpsichord)
ฮาร์พสิคอร์ด
เครื่อง ดนตรีชิ้นนี้เป็นเครื่องดนตรีที่ผมชอบฟังเสียงมากเมื่อตอนเป็นเด็ก เพราะรู้สึกว่ามันมีเสน่ห์น่าหลงใหล ผมเคยหัดเล่นเพลงนี้บนกีต้าร์คลาสสิก ที่มีคนดัดแปลงโน้ตให้กับกีต้าร์ก็เพราะดีเหมือนกัน
ช่วงหลัง เพลงนี้ได้รับการนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะได้ถูกดัดแปลงให้วงออร์เคสตร้าเล่น แล้วนำไปเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Barry Lyndon และเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง
Respighi: The Dove
เพลงนี้พิเศษหน่อย เป็นเพลงสไตล์บาโรคเพลงเดียวในอัลบั้ม Focus นี้ ที่ไม่ได้แต่งด้วยนักแต่งเพลงสมัยบาโร้ค !
งงไหมครับ?
เรสปิกี้ เป็นนักแต่งเพลงอิตาเลียนสมัยศตวรรษที่ 20 ที่หลงใหลดนตรี 200 ปี ก่อนหน้าสมัยเขา จึงพยายามสร้างเพลงที่อุทิศให้กับเพลงสมัยนั้น โดยยืมสไตล์การเขียนมาประยุกต์ โดยใช้การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตร้า (orchestration) สมัยใหม่
เพลงนี้มาจากชุดที่เรียกว่า The Birds ซึ่งแต่ละท่อนจะมีดนตรีเลียนเสียงนกแต่ละตัว ท่อนที่เราฟังอยู่นี้ คือ นกพิราบ โดยเสียงโอโบอันไพเราะเลียนเสียง เรสปิกี้ มีเพลงอื่นในสไตล์นี้ที่ไพเราะมากมาย เช่น Ancient Airs and Dances
Bach: Jesu, Joy of Man's Desiring
เพลงที่เพราะที่สุดและกินใจคนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรีเพลงหนึ่ง ผมหลงใหลเพลงคลาสสิกมากมายขนาดนี้ เพลงนี้มีส่วน
เพลงนี้ได้ถูกนำไปดัดแปลงร้องโดยนักร้องเพลงป๊อปนับครั้งไม่ถ้วน
Vivaldi: Winter from the Four Seasons, Mvt. II
อีกท่อนหนึ่งจาก The Four Seasons ที่ โด่งดัง วิวาลดี้วาดภาพฤดูหนาวด้วยเสียงดนตรี คราวนี้มีบทกวีที่จารึกอยู่บนโน้ตเพลงว่า “ใช้เวลาทั้งวันพักผ่อนอย่างมีความสุขใกล้เตาผิง ขณะที่ฝนข้างนอกตกหนัก” ลองสังเกตว่า ภายใต้ทำนองไวโอลินเดี่ยวที่ไพเราะ กลุ่มไวโอลินที่เล่นอยู่ในวงก็ทำเสียงฝนตกไปด้วย โดยใช้เทคนิคดึงสาย หรือ Pizzicato
Inspire
Beethoven: Symphony No. 5, Mvt. IV
ใน ความเห็นผม เพลงนี้เป็นเพลงที่เร้าใจที่สุดเพลงหนึ่งของเบโธเฟ่น แต่คนไม่ค่อยสังเกตกันเพราะเป็นท่อนสุดท้ายของซิมโฟนีที่ยาวพอสมควร แถมยังเริ่มเพลงแบบ “แปลกๆ” คือ ต่อมาจากท่อนก่อนหน้าแบบไม่มีการหยุดพัก
เป็นทำนองเริ่มต้นแบบสง่างามโอ่โถงมาก เสียง “สดใส”เป็นครั้งแรกในซิมโฟนีทั้งบท (ถ้ามีเวลาลองหาฟังท่อน 1-2-3 ดู จะรู้สึกบรรยากาศมืดๆ ลึกลับ) เหมือนกับมาถึง“เวลาแห่งชัยชนะ”แล้ว (ฟัง 0:03) การ “ต่อสู้กับโชคชะตา”ในสามท่อนแรกของซิมโฟนีได้รับผลเป็นชัยชนะ
เบโธเฟน
แน่นอนเบโธเฟ่นเตรียมการไว้อย่างดี ท่อนแรกของซิมโฟนีหมายเลข 5[4] เป็นเหมือนโชคชะตามาเคาะประตู มีการต่อสู้ ท่อนสองกับสาม เราก็เดินทางไปตามดนตรีด้วย แต่ก็ยังอยู่ในความไม่แน่นอน สีสันดนตรีก็มืด แต่พอถึงท่อนที่สี่ที่เราฟังกันนี้ ดนตรีก็สื่อถึง “ชัยชนะ”
ช่วงโปรดของผมคือ ตอนที่กลุ่มฮอร์นเข้ามา (0:40) ฟังสีสันของเครื่องดนตรีชิ้นนี้เมื่อได้ผู้เล่นที่ดี มันทำให้ฮีกเหิมมาก
ลองตามฟังสีสันของวงออร์เคสตร้าในการเดินทางเกือบเก้านาทีนี้ ความกระหึ่ม การเร่งจังหวะให้เร้าใจขึ้น(เริ่มที่ 7:55) จนจบลงอย่างสมศักดิ์ศรีซิมโฟนีบทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบทหนึ่งของโลก
Beethoven: Symphony No. 9, Highlight 1
Beethoven: Symphony No. 9, Highlight 2
Beethoven: Symphony No. 9, Highlight 3
เป็น ซิมโฟนีบทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเบโธเฟ่น สร้างปรากฎการณ์ใหม่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน คือเอาคณะนักร้องมาใส่ในซิมโฟนีเป็นครั้งแรก เนื้อหาของเพลงที่มีชื่อว่า Ode to Joy นี้ นำมาจากบทประพันธ์ของ Friedrich von Schiller กวีชาวเยอรมัน ซึ่งกล่าวถึง การเฉลิมฉลองของมวลมนุษย์ด้วยความปิติยินดีที่ได้เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้
- Highlight 1 ทำนอง ที่เป็นที่คุ้นหูกัน แม้ใครไม่สนใจเพลงคลาสสิกก็ต้องได้ยินเพลงนี้ตามทีวี โฆษณา ฯลฯ ทำนองนี้ได้รับเกียรติให้เป็นเหมือน เพลงชาติของทั้งยุโรป (European National Anthem)
ทำนองเริ่มเล่นโดยกลุ่มเชลโล่ เสร็จแล้วก็ถูกโยนไปให้เล่นโดยกลุ่มไวโอลิน (ที่ 1:18) ให้ความรู้สึกโล่งใจ สงบสุขเหมือนลมโชยมายังไงไม่ทราบ
เริ่มเปลี่ยนอารมณ์เป็นความเร้าใจ เมื่อออร์เคสตร้าทั้งวงเข้ามาเล่นอย่างกระหึ่มในจังหวะมาร์ช (1:56) ทำนองหลักที่เล่นด้วยทรัมเป็ตก็ให้ความรู้สึกฮีกเหิมขึ้นไม่น้อย
ยิ่งอลังการมากขึ้นเมื่อคณะนักร้องเปล่งเสียงเป็นครั้งแรก (3:44) เสียงจากคนกว่า 300 คนบนเวที ทั้งนักดนตรีและนักร้อง พร้อมกันเป็นครั้งแรก ถ้าได้ฟังสดหรือฟังเครื่องเสียงดีๆ จะขนลุก
- Highlight 2 เวอร์ชั่นนี้ของทำนองหลักเราได้ยินกันบ่อย เรียกว่าเป็น “จุดสูงสุด” (CLIMAX) ของซิมโฟนีเลยก็ว่าได้ เป็นครั้งแรกที่ทำนองหลักได้ถูกนำเสนอโดยคนทั้งหมดบนเวที
- Highlight 3 ช่วง สุดท้ายของซิมโฟนียาวเกือบชั่วโมงบทนี้ เบโธเฟ่นเตรียมคนดูให้รับความเร้าใจถึงขีดสุดในช่วงเมื่อเขาเขียนไว้ในโน้ต บอกคอนดักเตอร์ว่าให้เล่น “เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้” (ฟังที่ 3:27)
[4] หรือ “ปั๊ม ปั๊ม ปั๊ม ป่า” โน้ตสี่ตัวที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ ฟังได้ใน CD High-Energy Classics หรือชมได้ที่ DVD Music of Fate บทเพลงแห่งโชคชะตา
Verdi: Grand March from Aida
เป็นเพลงแรกๆในชีวิตที่ผมคอนดักท์กับวงออร์เคสตร้าเต็มวง ตอนนั้นอายุ 20 ปีอยู่ที่ออสเตรเลีย เหตุผลที่เลือกคงเป็นเพราะชอบความ “โฉ่งฉ่าง” ตามประสาคนอายุน้อย (ตอนอายุ 13-14 ชอบเพลงสไตล์เฮฟวี่เมทัลด้วยซ้ำ เพราะเสียงดังดี) แต่เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น ก็มีความละเอียดอ่อนมากขึ้น พยายาม train ตนเองให้นำเสนอเพลงได้หลายอารมณ์
ทรัมเป็ต
เสียงทรัมเป็ตป่าวประกาศการมาของผู้ยิ่งใหญ่ ท่านผู้นั้นมาถึงเมื่อทำนองหลักเล่นพอดี (0:56) ทำนองหลักนี้ เล่นโดยเครื่องลมทองเหลืองกลุ่มใหญ่ประสานกัน เป็นอีกมิติหนึ่งของสีสันของวงออร์เคสตร้าที่น่าฟัง
Beethoven: Piano Concerto No. 5, Mvt. I
ผม ว่าแทบจะไม่มีอะไรให้อารมณ์ว่า “กูแน่” ได้มากกว่านี้แล้วครับ เปิดเพลงด้วยเสียงขนาดมหึมาที่เล่นด้วยออร์เคสตร้าทั้งวง แล้วก็ “แช่”ไว้เลย ไม่มีทำนองอะไรทั้งนั้น
เสียงต่อไปที่เราได้ยินคือ นักดนตรีเดี่ยวเปียโนเล่นโชว์ลวดลาย เสียงเครื่องดนตรีชิ้นเดียวให้ความรู้สึกเหมือน ฮีโร่ผู้โดดเดี่ยว ต่อกรกับ ยักษ์โกไลแอท
ในที่สุดทำนองหลักก็ได้ถูกประกาศออกมา(1:10)ให้ความรู้สึก“โล่งใจ” ความเครียดจาก “การต่อสู้ระหว่างฮีโร่กับยักษ์”ในหนึ่งนาทีแรกได้จบไปแล้ว ความรู้สึกส่วนตัวผม ทำนองหลักอันนี้ทำให้เกิดความรู้สึกฮึกเหิม
เพลงนี้มีชื่อเรียกที่รู้จักกันว่า "Emperor Concerto" ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่บีโธเฟ่นเป็นคนตั้งขึ้นนะครับ[5] แต่เกิดขึ้นจากในการแสดงครั้งแรก มีนายทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่นชอบเพลงนี้มาก จึงตะโกนว่า "Emperor" เมื่อจบการแสดง ทำให้เพลงนี้ถูกเรียกว่าเป็น Emperor Concerto โดยปริยาย (ทั้งที่จริงๆบีโธเฟ่นเองนั้นไม่ค่อยชอบพวกเจ้าขุนมูลนายเท่าไรนัก)
คอนแชร์โตบทนี้แต่งขึ้นในบันไดสียง E flat major ซึ่งถือว่าเป็นบันไดเสียงที่ให้ความรู้สึก "ฮึกเหิม" หรือ "ฮีโร่" ตัวอย่างเช่นบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข3 หรือที่รู้จักกันในนาม "Eroica" ของบีโธเฟ่นเอง ที่ว่ากันว่าเขาแต่งขึ้นเพื่ออุทิศให้แด่นโปเลียน โบนาปาร์ต นั้น ก็แต่งขึ้นในบันไดเสียงนี้เช่นกัน[6]
เพลงนี้ยาว 20 นาที เหตุผลว่า ทำไมเพลงคลาสสิกถึงได้ยาวขนาดนี้ คงต้องอธิบายกันนาน(เป็นคอร์สในมหาวิทยาลัยดนตรีหลายคอร์ส) แต่คร่าวๆว่า นักแต่งเพลงเหล่านี้อยากพาคนฟังออกเดินทางไปด้วยกัน มีการขึ้นเขาลงเขา(อารมณ์ขึ้นลง) หรือมองอีกมุมหนึ่ง เหมือนดูภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง มีการนำเสนอพระเอก(ทำนองหลัก เร้าใจ) นางเอก(ทำนองหวาน) ความขัดแย้งกัน จนกระทั่งสุดท้าย กลับมาดีกันเหมือนเดิม จบด้วยดนตรีเฉลิมฉลอง Happy Ending อะไรประมาณนี้
[5] ชื่อเพลงที่แท้จริงคือ "Piano concerto No.5 in E flat major for piano and orchestra" ซึ่งเป็นเปียโนคอนแชร์โตบทสุดท้ายบีโธเฟ่นได้แต่งไว้
[6] Andrew Schartmann , Myth and Misinterpretation in Beethoven’s Emperor Concerto
Puccini: Nessun Dorma
Puccini: Nessun Dorma (short version )
จริงๆเพลงนี้ น่าจะตั้งชื่อว่า “Vincero”[7] แปลว่า I will win มากกว่า ผมจะค่อยๆอธิบายว่าทำไม
Nessun Dorma เป็นภาษาอิตาเลียน แปลตรงตัวว่า “จะไม่มีใครได้นอนหลับ” เป็น ประโยคแรกของเพลงเร้าใจสุดๆเพลงนี้ แต่เนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่แล้ว การที่ใครจะได้นอนหรือไม่ได้นอน ไม่ใช่ประเด็น จุดที่สำคัญที่สุด(CLIMAX) และเร้าใจมากที่สุดที่ทำให้คนดูหลายคนน้ำตาไหล คือตอนที่นักร้องเปล่งเสียงคำว่า “Vincero” หรือ “ฉันจะชนะ เพลงนี้ได้ถูกนำไปเป็นเพลงเอกในงานระดับโลกหลายงานเช่น ฟุตบอลโลก, EXPO 2010 ฯลฯ ล่าสุดที่คนได้ดูกันเยอะมาก และสร้างแรงบันดาลใจให้คนเป็นร้อยล้านคนทั่วโลก ก็เมื่อพนักงานขายโทรศัพท์มือถือชื่อ Paul Potts ได้ร้องเพลงนี้กินใจคนไปทั่วโลกออกทีวีและ youtube ทำให้เขากลายเป็นทำให้ความฝันในการเป็นนักร้องเป็นจริง ใครสนใจดูคลิปวีดีโอ ลองหาคำว่า Paul Potts Nessun Dorma ใน youtube
Meditation
Mozart: Piano Concerto No. 24, Mvt. II
อีกเพลงหนึ่งที่มีลักษณะของการอยู่ในห้วงคิด
Vivaldi: Largo from Spring
อีกเพลงหนึ่งที่มีการ “วาดภาพ” ด้วยเสียงเพลงอย่างชัดเจน เพลงนี้ต้องการให้ผู้ฟังเห็น “บนทุ่งหญ้าที่สวยงาม มีเสียงใบไม้ที่ถูกลมพัด และมีคนเลี้ยงแพะนอนอยู่ข้างๆสุนัขที่ซื่อสัตย์ของเขา”[8]
- เสียงใบไม้ถูกลมพัด = กลุ่มไวโอลิน (0:00) เบาๆ ไม่ได้เป็นทำนองที่แน่นอน เป็นแบคกราวนด์สร้างบรรยากาศ
- คนเลี้ยงแพะนอนหลับ = เสียงไวโอลินเดี่ยว (0:04) เป็นทำนองที่ให้ความรู้สึกโดดเดี่ยว
- เสียงสุนัขเห่าเป็นระยะๆ = วิโอลา โน้ตสองตัว (0:01, 0:05, 0:09 และทุก 4 วินาทีจนจบเพลง ถ้าสุนัขของผมเห่าเยอะขนาดนี้ สงสัยต้องมีการอบรมกันหน่อย )
Beethoven: Piano Sonata Op. 13, Mvt. II
ไพเราะ จริงๆ เพลงนี้ ทำนองได้ถูกนำไปใช้ในหนังโฆษณาแม้ในเมืองไทย สังเกตว่า ทำนองที่เพราะๆอันนี้จะถูกคั่นอยู่เรื่อยๆ ด้วยทำนองอื่นที่บุคลิกแตกต่างกัน (1:11 และ 2:37) เพราะอะไร? เป็นเทคนิคของนักแต่งเพลงที่จะทำให้ทำนองไม่ถูกใช้เล่นซ้ำไปซ้ำมาจน “เฝือ” แต่เมื่อทำนองหลักกลับมา (2:02 และ 3:25) มันมีความ “หอมหวาน” เพิ่มขึ้น
Mozart: Piano Concerto No. 23, Mvt. II
ดนตรีเริ่มก็ให้ความรู้สึกเหมือนคนอยู่ในห้วงคิด รำพึง Meditate มีความโศกเศร้าปนอยู่เล็กน้อย พอเครื่องสายเข้ามา (0:48) รู้สึกเหมือนความโศกเศร้ามันทวีคูณ แน่นอน โมสาร์ตกำลังแสดงออกถึงความเศร้า มิฉะนั้นเขาคงไม่เลือก “บาสซูน” –เครื่องดนตรีลมไม้เสียงต่ำ—มาขานตอบทำนองอันแสนบาดใจอันนี้หรอก (0:52)
บาสซูน
Mozart: Sinfonia Concertante K.364, andante
เพลงนี้มีกลิ่นอายของความโศกเศร้าปนอยู่พอสมควร ทำนองมาจากออร์เคสตร้าก่อน เตรียมตัวให้ไวโอลินเดี่ยวเข้า (0:32) สังเกตว่า เสียงมันวังเวง เหมือนลอยอยู่ในอากาศสักพักหนึ่ง เพราะอะไร? เพราะไม่มีเสียงเบส! ผมว่ามันได้อารมณ์มากเลยเมื่อเสียงเบสกลับเข้ามา “ร่วมวง” อีกครั้งหนึ่งที่0:51 เหมือนการรอคอยของเรา “สมหวัง”ไปแล้วในระดับหนึ่ง
ที่กินใจผมสุดๆ คือตอนนักวิโอล่าเดี่ยว[9]เข้ามา เล่นทำนองอัน “โหยหา” อันนี้อีกที (1:07) มันมีเสน่ห์อย่างประหลาด ได้อารมณ์มาก นักวิโอล่าที่เล่นโซโลได้ดีๆ หายากมาก ในอัลบั้มนี้ เราโชคดีที่ได้นักวิโอล่าชั้นเยี่ยม
ตลอดเพลง ท่านจะได้ยิน ไวโอลินเดี่ยว กับ วิโอล่าเดี่ยว “ถามตอบ”กันไปมา บางครั้งก็เล่นพร้อมกันบ้าง บางครั้งก็ล้อเลียนกัน
โลกสดใสขึ้น เมื่อทำนองเปลี่ยนไป ทำนองใหม่ที่ 4:02 ให้ความหวังเราขึ้นมาหน่อย เป็นช่วงโปรดผมอีกที่หนึ่งในเพลงนี้
ช่วงที่กินใจผมอีกช่วงหนึ่ง คือ ทำนองเพราะๆ ที่กลับมาอีกครั้งหนึ่ง (10:23) ซึ่งโมสาร์ตได้ใช้ทำนองนี้จบบทเพลงอันยิ่งใหญ่นี้อย่างสวยงาม
โมสาร์ต
Marcello: Oboe Concerto in D major, andante
เป็น เพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดของนักดนตรีชาวเวนิสผู้นี้ ถูกนำไปอัดเสียงและแสดงนับครั้งไม่ถ้วน บาคผู้ยิ่งใหญ่เห็นคุณค่าของเพลงนี้ ถึงขนาดดัดแปลง (“ขอยืม”)ไปใช้ในงานของเขา
เครื่อง ดนตรีเดี่ยวโอโบ มีเสียงที่ไพเราะมาก เป็นเครื่องดนตรีที่ผมชอบฟังที่สุดในสมัยเริ่มฟังดนตรีคลาสสิกตอนเป็นเด็ก วัยรุ่น เพลงนี้ให้อารมณ์ “วังเวง” โดดเดี่ยวพอสมควร สังเกตเครื่องดนตรีที่เล่นเป็น backup แทบจะไม่มีเสียงเบสเลย จะเป็นเสียงสูงเป็นส่วนใหญ่
Mozart: Adagio from Serenade, K.361
เพลงนี้เป็นเพลงโปรดที่สุดในชีวิตผมเพลงหนึ่งเลยครับ ไพเราะเหลือเกิน เหมือนไม่ใช่มนุษย์เขียนเพลงนี้ ผมรู้จักเพลงนี้จากหนังเรื่อง Amadeus ตอนที่ตัวร้ายขี้อิจฉา (นักแต่งเพลงชื่อซาลิเอรี่) กำลังอธิบายเพลงนี้อย่างขมขื่น ที่ว่าขมขื่นเพราะเขาเองแต่งเพลงที่ไพเราะอย่างนี้ไม่ได้ ผมฟังเพลงนี้ครั้งแรกในหนังเรื่องนี้ แล้วรู้สึกไม่เชื่อว่ามีดนตรีแบบนี้อยู่ในโลก รู้สึกเหมือนกับว่าถูกส่งตรงมาจากสวรรค์
ถ้าท่านใดสนใจอยากชมคลิปวีดีโอ สามารถดูได้ใน youtube โดยพิมพ์ในช่อง search ว่า “Salieri describing the music of Mozart”
Mozart: Sonata for Two Pianos K.448, andante
จำเบอร์นี้ไว้ดีๆนะครับ— 448 — อันดับผลงานของโมสาร์ตที่มีการกล่าวขวัญถึงกันมากพอสมควร ในกลุ่มนักวิจัยดนตรีกับสมอง แพทย์ และดนตรีบำบัด
Happy Music
Mozart: Piano Concerto No. 15, Mvt. III
เพลง โปรดของผมเพลงหนึ่งเลยทีเดียว มันทำให้ผมอารมณ์ดีอย่างประหลาด มีทำนองเหมือนโลกนี้สดใสไปทั้งใบ แต่ความลับก็คือ คอนดักเตอร์ (กับนักเปียโนเดี่ยว)ต้องเลือกความเร็วที่ถูกต้อง ไม่เร็วไป ไม่ช้าไป นี่แหละที่ความเป็นศิลปินเข้ามามีบทบาท ถ้าเล่นเร็วไปจะฟังเหมือนดนตรีการ์ตูน คนฟังฟังไม่ทัน ฟังแล้วเครียด ถ้าเล่นช้าไปก็ไม่ได้อารมณ์แบบสดใสที่ต้องการจะสื่อให้ผู้ฟัง การเลือกความเร็วที่ถูกต้องเป็นข้อแตกต่างระหว่างศิลปินธรรมดา กับ ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ
เพลงนี้ได้ถูกใช้เป็นเพลงประกอบหนังรางวัลออสการ์เรื่อง Amadeus ฉาก ที่โมสาร์ตกำลังเดินร่าเริงไปตามถนนของกรุงเวียนนา ใครยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ ผมแนะนำว่า สุดยอดจริงๆ หนังเรื่องนี้ยิ่งทำให้ดนตรีของโมสาร์ตเป็นที่นิยมมากขึ้นไปทั่วโลก ทีมงานที่อัดเสียงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้รวยไปตามๆ กัน (โมสาร์ตผู้ตายอย่างยาจก คงนึกไม่ถึงว่าผลงานของเขาจะทำเงินให้คนอื่นมากมายขนาดนี้!)
Vivaldi: Mandolin Concerto, Mvt. I
แมนโดลินเล่นเดี่ยว มีวงออร์เคสตร้าเล็กๆ เล่น back up ให้ เพลงนี้รู้สึกจะเคยใช้ในหนังโฆษณาสินค้าเด็กชิ้นหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่รู้จักหน้าตาของแมนโดลิน มันคล้ายกับกีต้าร์ตัวเล็ก ๆ รูปทรงคล้ายลูกแพร์ มีสาย 4 เส้น เวลาเล่นต้องใช้ดีดเอาเหมือนกับกีตาร์
แมนโดลิน
Mozart: Sonata for Two Pianos K.448, Allegro con spirito
มี น้อยครั้งที่นักแต่งเพลงจะเขียนเพลงให้เปียโนสองตัวเล่นด้วยกัน ต้องมีเหตุผล และเหตุผลของโมสาร์ตก็คือ เขาจะได้ให้ลูกศิษย์ของเขามีโอกาสได้แสดงกับเขา ลูกศิษย์สาวคนนั้นคือ Josephine von Aurnhammer โมสาร์ตเล่าว่าเธอ “อ้วนเหมือนสาวชาวนา[10] แต่เล่นได้เพราะเหมือนเทพธิดา...”
โมสาร์ตมักจะเก็บคีย์ของ D เม เจอร์ ไว้สำหรับเพลงที่มีความสุข ซึ่งเป็นเหตุผลให้เขาใช้คีย์นี้กับเพลงนี้ ในช่วงหลังๆนี้ เพลงนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นเพราะเหตุผลสองประการ
1.ผลงานวิจัยของ สถาบันโรคลมชักแห่งสหราชอาณาจักร(British Epilepsy Organization) พบว่าเปียโนโซนาต้าบทนี้ (K448) มี "Mozart Effect" ต่อผู้ฟัง คือมีส่วนช่วยพัฒนาสมองในส่วนการให้เหตุผล และลดจำนวนการชักของผู้ป่วยโรคลมชัก[11]
2.หนังซีรีส์ของญี่ปุ่น ชื่อ Nodame Cantabile
Rimsky-Korsakov: Flight of the Bumblebee
เพลง ที่เด็กๆชอบ มักจะปรากฎอยู่ในคอนเสิร์ตออร์เคสตร้าสำหรับเด็กเสมอ เสียงดนตรีเลียนแบบการบินและเสียงหึ่งของผึ้งตัวใหญ่ๆ โดยไวโอลิน(สลับด้วยฟลู้ท)เล่นอย่างเร็วมากไม่มีการหยุดตลอดเพลง
Handel: “And He Shall Purify” from The Messiah
ไม่ รู้ว่าท่านผู้อ่านรู้สึกเหมือนผมหรือเปล่า แต่ผมรู้สึกว่า วิธีการเริ่มต้นเพลงนี้มัน “เก๋”เป็นพิเศษ แปลก ไม่เหมือนใคร มีออร์แกน “intro”ให้นิดหน่อยแล้วก็เริ่มกันเลย
แฮนเดล
เพลง โปรดเพลงหนึ่งของผม จังหวะมีมนต์ขลังอย่างประหลาด สังเกตจังหวะของเบสทำให้ดนตรีมีความกระฉับกระเฉง การเปลี่ยนสีสันจากนักร้องหญิงเป็นนักร้องชาย (0:10)ก็ให้ความหลากหลาย ส่วนตัวผมทึ่งที่ว่า คำๆเดียว สามารถร้องเป็นโน้ตสิบๆตัว เช่นคำว่า fy จาก purify (0:15)
และ ต่อไปนี้คือความพิเศษของดนตรีบาโร้ค มีทำนองหลายแนวเล่นไปพร้อมๆกัน ถ้าท่านได้ฟังหลายๆรอบ ลองฟังแนวอื่นๆ มันก็เพราะในแบบของมันเอง สำหรับผมชอบตามเสียงเบส นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ฟังเพลงคลาสสิกหลายๆรอบก็ไม่เบื่อ เพราะมีอะไรใหม่ๆให้ค้นพบเสมอ
Haydn: Symphony No. 90, Mvt. IV
ไฮเดิน
เจ้าของฉายา " บิดาแห่งซิมโฟนี "
ซิมโฟนีบทนี้ผมคิดว่าน้อยคนที่จะเคยได้ยิน แม้คนที่เป็นคอเพลงคลาสสิก
และถ้าเคยได้ยิน ผมหวังว่าคอนดักเตอร์ที่นำเสนอจะ "เก็ต" สิ่งเหนือตัวโน้ตที่ไฮเดินสื่อไว้ โดยไม่ได้
เขียนเป็นตัวหนังสือ
ไม่งั้นคนดูจะพลาดสิ่งสำคัญที่สุดของเพลงนี้เลย
นั่น คือไฮเดินตั้งใจ "หลอก" ให้คนดูตบมือครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเข้าใจผิดว่าจบเพลงแล้ว คนดูงงไปหมด ไม่รู้ว่าจบเพลงหรือยัง เพราะมีหลายที่มากที่ฟังเหมือนจบแล้ว
ผม แสดงเพลงนี้หลายครั้ง ทุกครั้งก็เรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้เสมอ เพราะเขาไม่เคย "ถูกหลอก" แบบตั้งใจหลอกในคอนสิร์ตเพลงคลาสสิกแบบนี้มาก่อน
(เห็นหรือยังครับว่าทำไมต้องมีคอนดักเตอร์ นักดนตรีมีแค่โน้ตแนวของตนเอง จะไม่เข้าใจประเด็นที่มาจากการ "เห็นภาพรวม" แบบนี้)
Holst: Jupiter
Jupiter เป็นชื่อจอมเทพของโรมัน เป็นผู้นำความสดใสร่าเริงมาให้แก่มวลมนุษย์( Bringer of Jollity ) และแน่นอนว่าท่วงทำนองของเพลงนี้สดใสเบิกบานสดชื่นสมกับฉายาของเทพผู้นี้
บทเพลงนี้เป็นท่อนหนึ่งของเพลงคลาสสิกที่มีชื่อว่า “ The Planets (ดาวเคราะห์)” ซึ่งสำหรับดาวพฤหัส ( Jupiter ) ก็เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ จึงถูกนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อท่อนๆหนึ่งในเพลง“ The Planets (ดาวเคราะห์)”
ดาวพฤหัส ( Jupiter )
ส่วนตัวผม ในเพลงนี้ผมชอบท่อนตรงกลางที่เป็นทำนองช้ามากที่สุด (3:16) เพราะมีความไพเราะกินใจ เริ่มเบาๆ และค่อยๆ build จนถึง CLIMAX (จุดสูงสุด) กลายเป็นทำนองอลังการที่ออร์เคสตร้าทั้งวงเล่น มีพลังมาก (4:35)
Tchaikovsky: Polonaise from Eugene Onegin
ไชคอฟสกี้
ไชคอฟสกี้ = นักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ชาวรัสเซีย มีชื่อเสียงด้านการเขียนทำนองที่ไพเราะกินใจ
โพโลเนซ = เพลงเต้นรำแบบโปแลนด์
Eugene Onegin = อุปรากรที่ดังที่สุดของไชคอฟสกี้
ทราบแค่นี้ก็พอแล้วครับ Enjoy the beautiful music เล่นโดยวงออร์เคสตร้าชั้นเยี่ยม
Beethoven: Symphony No. 7, Mvt. I
ซิมโฟนีเลขคี่ของเบโธเฟ่น (3, 5, 7, 9) รู้กันในหมู่นักฟังเพลง นักดนตรีและนักวิชาการว่า มีพลังและ “ซีเรียส” ซึ่งต่างจากซิมโฟนีเลขคู่ ซึ่งมีเนื้อหาเบาหน่อย (เช่น หก--เกี่ยวกับธรรมชาติ, สึ่--มีอารมณ์ขัน, แปด—สดใส โดยเฉพาะท่อนสองล้อเลียนเพื่อนของเบโธเฟ่นเอง)
แค่วินาทีแรกของเพลง เราก็รู้แล้วว่าเบโธเฟ่น “เอาจริง” เต็มไปด้วยความสง่าและท่าทีประกาศศักดา
ผมจำได้ว่า คอนดักท์เพลงนี้ออกแสดงคอนเสิร์ตต่อสาธารณชนครั้งแรกในกรุงเวียนนา ตอนปี พ.ศ. 2536 อายุประมาณ 23 ปี ตอนนั้นรู้สึกถึงภาระที่“หนักหน่วง”ที่ต้องคุมเพลงที่ยุ่งยากซับซ้อนขนาดนี้ ไม่บ่อยนักที่คนอายุน้อยได้รับมอบหมายจากผู้ใหญ่ให้รับผิดชอบคอนดักท์ ซิมโฟนียาวเกือบชั่วโมงขนาดนี้ ผมต้องยอมรับว่ามันอาจเกินความสามารถของผมตอนนั้นไปหน่อย แต่ก็เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี
สิบปีต่อมา คอนดักท์เพลงนี้อีกรอบหนึ่ง คราวนี้แสดง 20 กว่าครั้งทั่วอิตาลี รู้จักเพลงนี้ดีขึ้นอีกเยอะ
ซีรีส์ญี่ปุ่น Nodame Cantabile
เกร็ดอีกนิด ทำนองหลักของเพลงนี้ (เริ่มที่ 3:52) ได้ถูกทำให้ฮิตติดหูเด็กวัยรุ่นทั่วเอเชีย เพราะกลายเป็นเพลง Theme ของซีรีส์ญี่ปุ่น Nodame Cantabile ที่ช่วยทำให้เพลงคลาสสิกเป็นที่รักของคนรุ่นใหม่ในเอเชีย
Handel: Royal Fireworks Overture
เป็นดนตรีคลาสสิกกลางแจ้งที่ฮิตมาก Fireworks แปลว่า ดอกไม้ไฟ เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่าพระเจ้าจอร์จที่2 แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบหมายให้แฮนเดลแต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อบรรเลงในวันเฉลิมฉลองการสิ้นสุดสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (The Austrian Succession War) และ นักดนตรีจะได้บรรเลงในอาคารที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการแสดงนี้ แต่ทว่าแผนการแสดงกลับล้มเหลว เนื่องจากอาคารแสดงได้ติดไฟและลุกไหม้ในระหว่างการแสดง อย่างไรก็ตามบทเพลง Royal Firework ของแฮนเดลนั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากในการแสดงรอบ "ซ้อมใหญ่" ที่ Vauxhall Gardens นั้น มีผู้เข้าชมการแสดงถึงกว่า 12,000 คน จนทำให้การจราจรบริเวณนั้นติดขัดไปถึง 3ชั่วโมง
แฮนเดล
ผมคอนดักท์เพลงนี้ครั้งแรกปี คศ. 2000 เมื่อตอนมีตำแหน่งเป็น Associate Conductor กับ Utah Symphony ในอเมริกา ชอบเพลงนี้อยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่า ขนลุกและยิ่งชอบขึ้นไปอีกตอนกำลังแสดงอยู่ เมื่อได้ฟังเสียงนักดนตรีชั้นยอดของวง Utah Symphony ขณะกำลังเล่นคอนเสิร์ตในหอเพลงชั้นเยี่ยมในเมืองนั้น เป็นประสบการณ์ที่ไม่มีวันลืมเลย
Prokofiev: Dance of the Knights from Romeo and Juliet
โปรโครเฟียร์
อีกเพลงหนึ่งที่ดังจากซีรีส์ญี่ปุ่น Nodame Cantabile ความ จริงไม่ค่อยเข้ากับทีม “อารมณ์ดี”เท่าไรนัก ผมว่าเพลงนี้ให้อารมณ์เอนเอียงไปทางความ “มันส์” อย่างไรก็ตาม เพลงนี้ต้องวงออร์เคสตร้าชั้นเยี่ยมถึงจะเล่นออกมาได้เพราะ สังเกตแถวๆ 0:51-0:54 ที่ไวโอลินเล่นเสียงสูงมากๆ ถ้ากลุ่มนักไวโอลินทั้ง เกือบ 20 คน เล่นไม่ดีแค่คนเดียว เสียงจะเพี้ยนบาดหู สำหรับวงที่เล่นในแผ่น “อารมณ์ดี”นี้ เป็นวงชั้นเยี่ยมของยุโรป และเล่นเพลงนี้มาเป็นร้อยรอบ คุ้นมือกันดี
อย่าลืม “ดื่มด่ำ” กับเสียงอีกบุคลิกหนึ่ง(ห้าวหาญ)ของกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (BRASS) ที่ 0:42
Sibelius: Karelia Suite Op. 11, Mvt. III
ซีเบเลียส
เพลง โปรดผมอีกเพลงหนึ่งตั้งแต่สมัยเด็ก ทำนองปลุกใจให้ฮึกเหิมดี คนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก อาจเป็นเพราะชื่อของซีเบเลียสยังไม่แพร่หลายนัก ตัวผมเองมีความผูกพันกับนักแต่งเพลงท่านนี้เป็นพิเศษ ดนตรีของเขาเข้าถึงหัวใจของผมอย่างประหลาด มันมีความลึกซึ้งของอารมณ์ ตอนผมแข่งที่อเมริกา คอนดักเตอร์ทุกคนที่เข้ารอบสุดท้ายต้องคอนดักท์เพลงของซีเบเลียส เพราะท่านลอริน มาแซลปรมาจารย์คอนดักเตอร์ถือว่า เป็นดนตรีที่ลึกซึ้งที่จะวัดคอนดักเตอร์ได้ดี ต้องเป็นคอนดักเตอร์ที่ mature หรือ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร ถึงจะเข้าใจเพลงของซีเบเลียสได้และสามารถตีความหมายแบบ “ผู้ใหญ่” ให้ผู้ฟังเข้าถึงและตรงความต้องการของผู้แต่งเพลงได้
ตอนหนึ่งที่ผมชอบเป็นพิเศษ คือตอนที่มีฉาบ (Cymbal) กับ กิ๋ง (Triangle) ให้จังหวะ (3:02)
ลอง สังเกตรายละเอียดเล็กน้อย เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่ทำให้ดนตรีมีสีสันมากขึ้น คือการที่ทำนองหลัก “ไล่ล้อกันเอง” ระหว่างกลุ่มไวโอลิน (3:17) กับกลุ่มวิโอล่า/เชลโล่ (3:19) เทคนิคนี้เรียกว่า Canon (เพลง CANON ของ พาเคลเบล ก็ใช้เทคนิคนี้แทบทั้งเพลง)
บันทึกเสียงที่อยู่ในแผ่น “อารมณ์ดี”นี้ผมแสดงสด (LIVE) ในอเมริกา
Mozart: Piano Concerto No. 17, Mvt. III
ส่วนตัวแล้ว ผมรู้สึกว่า ผลงาน Piano Concerto[12] แทบทั้งหมดของโมสาร์ตให้ความรู้สึก “สบายใจ” ดีเป็นพิเศษ ในบ้านผมกับแมรี่ภรรยา จะเปิดเป็นแบคกราวนด์เสมอ ให้บรรยากาศสดใสได้ดี
โมสาร์ตแต่ง Piano Concerto ทั้งหมด 21 เบอร์ แต่ละเบอร์มี 3 ท่อน ปกติแล้วท่อนแรกของแต่ละเบอร์จะมีทำนองติดหูคนที่สุด แต่กลับกลายเป็นว่า พอกลายเป็นวัยกลางคนแบบผม ได้ค้นพบ “เพชร” ในท่อนสุดท้ายของ Piano Concerto เบอร์ 15 กับ 17 ที่อยู่ในแผ่น “อารมณ์ดี” นี้
จากความ “สดใส อารมณ์ดี สบายๆ ไปเรื่อยๆ” บรรยากาศเริ่มเปลี่ยนตอน 5:34 เมื่อโมสาร์ตมี “แผนใหม่” ดนตรีเร็วขึ้น กำลังค่อยๆ build จากเบาไปดัง เพื่อให้จบเพลงน่าตื่นเต้นและน่าประทับใจ
[8] ยกมาจาก บทกวีที่เขียนในโน้ตเพลงคอนดักเตอร์ (score) ที่วิวาลดี้ใส่เป็นแนวทางให้นักดนตรี
[9] คล้ายไวโอลิน ตัวใหญ่กว่านิด เสียงทุ้มกว่า ส่วนใหญ่เล่นเป็น “ตัวประกอบ” ไม่ค่อยได้เดี่ยว
[10] อือ สงสัยลูกชาวนาออสเตรียสมัยนั้นอ้วน !
[11] ศึกษารายละเอียดของการวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ http://www.epilepsy.org.uk/info/mozart.html
[12] เปียโนเดี่ยว + ออร์เคสตร้าเล่น backup ให้